Law of Muay Sport
พรบ.มวย
หมวด ๓
การควบคุม
มาตรา ๑๗ ให้จัดตั้งสำนักงานคณะกรรมการการกีฬามวยขึ้นมีฐานะเป็นหน่วยงานของการกีฬาแห่ง
ประเทศไทย
มาตรา ๑๘ ให้ผู้ว่าการการกีฬาแห่งประเทศไทยด้วยความเห็นชอบของคณะกรรมการ แต่งตั้งพนักงานของการกีฬาแห่งประเทศไทยคนหนึ่งระดับไม่ต่ำกว่าผู้อำนวยการกองเป็นผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการกีฬามวย
ให้ผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการกีฬามวยมีอำนาจบังคับบัญชาพนักงานเจ้า – ๖ –
หน้าที่ พนักงานและลูกจ้างในสำนักงานคณะกรรมการกีฬามวย
มาตรา ๑๙ สำนักงานการกีฬาแห่งประเทศไทยสาขาจังหวัด มีหน้าที่ช่วยนายทะเบียนในการปฏิบัติตามพระราชบัญญัตินี้ตามที่นายทะเบียนมอบหมาย โดยความเห็นชอบของผู้ว่าการการกีฬาแห่งประเทศไทย
มาตรา ๒๐ ให้นายทะเบียนจัดทำทะเบียนประวัติบุคคลในวงการกีฬามวยและออกบัตรประจำตัวนักมวย ผู้ฝึกสอน และหัวหน้าค่ายมวย
ทะเบียนประวัติบุคคลในวงการกีฬามวยและแบบบัตรประจำตัวนักมวยผู้ฝึกสอน และหัวหน้าค่ายมวยตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามระเบียบที่คณะกรรมการกำหนด
มาตรา ๒๑ ในการควบคุมกีฬามวยให้เป็นไปตามพระราชบัญญัตินี้ ให้นายทะเบียนหรือพนักงานเจ้าหน้าที่ที่นายทะเบียนมอบหมาย มีอำนาจดังต่อไปนี้
(๑) เข้าไปในสนามมวยในระหว่างเวลาที่ทำการอยู่เพื่อตรวจสอบใบอนุญาตสภาพ และลักษณะของสถานที่ทำการ เครื่องมือเครื่องใช้และยานพาหนะเพื่อการพยาบาลที่ใช้ในการจัดการแข่งขันกีฬามวย ตลอดจนเอกสารหลักฐานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการกีฬามวย
(๒) เรียกบุคคลในวงการกีฬามวยหรือตัวแทนมาให้ถ้อยคำ หรือชี้แจงหรือให้ส่งเอกสารหลักฐานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการกีฬามวยเพื่อตรวจสอบ มาตรา ๒๒ การมอบหมายให้พนักงานเจ้าหน้าที่ปฏิบัติหน้าที่ตามมาตรา 21 ให้นายทะเบียนมอบหมายเป็นหนังสือ
มาตรา ๒๓ ในการปฏิบัติหน้าที่ นายทะเบียนหรือพนักงานเจ้าหน้าที่ต้องแสดงบัตรประจำตัวต่อบุคคลที่เกี่ยวข้อง
บัตรประจำตัวนายทะเบียนและพนักงานเจ้าหน้าที่ ให้เป็นไปตามแบบที่กำหนดในกฎกระทรวง
มาตรา ๒๔ เมื่อนายทะเบียนหรือพนักงานเจ้าหน้าที่ที่นายทะเบียนมอบหมายพบว่ามีการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามพระราชบัญญัตินี้ ให้นายทะเบียนพิจารณาดำเนินการตามมาตรา 39หรือมาตรา 40 แล้วแต่กรณี แล้วรายงานให้คณะกรรมการทราบ
มาตรา ๒๕ ในการปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้ ให้นายทะเบียนและพนักงานเจ้าหน้าที่เป็นเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา
มาตรา ๒๖ ห้ามมิให้ผู้ใดจัดแข่งขันกีฬามวย โดยไม่ได้รับอนุญาตจากนายทะเบียนเว้นแต่ในกรณีการจัดการแข่งขันกีฬามวยบางประเภทตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
การขอรับใบอนุญาตและการออกใบอนุญาตตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขตามที่กำหนดในกฎกระทรวง หลักเกณฑ์การอนุญาตให้จัดการแข่งขันกีฬามวยสำหรับนักมวยที่มีอายุต่ำากว่าสิบ
ห้าปีบริบูรณ์จะกำหนดได้เฉพาะเมื่อมีอุปกรณ์ในการ – ๗ –
ป้องกันความปลอดภัยในการแข่งขัน
ในการออกใบอนุญาต นอกจากต้องปฏิบัติตามวรรคสองแล้ว นายทะเบียนอาจกำหนดเงื่อนไขอื่น ๆ ได้เท่าที่จำเป็นเพื่อให้การจัดการแข่งขันกีฬามวยเป็นไปตามระเบียบและกติกาที่คณะกรรมการกำหนด
การจัดการแข่งขันกีฬามวยที่ไม่ต้องขออนุญาตตามวรรคหนึ่ง ต้องแจ้งให้นายทะเบียนทราบก่อนและต้องปฏิบัติตามมาตรฐานที่กำหนดตามมาตรา ๑๖
มาตรา ๒๗ ห้ามมิให้ผู้ใดจัดตั้งสนามมวยโดยไม่ได้รับอนุญาตจากนายทะเบียนการขอรับใบอนุญาตและการออกใบอนุญาตตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวง ทั้งนี้ ให้นำมาตรา ๒๖ วรรคสาม มาใช้บังคับโดยอนุโลม
มาตรา ๒๘ ผู้รับใบอนุญาตจัดตั้งสนามมวยมีสิทธิที่จะจัดการแข่งขันกีฬามวยได้ทุกประเภทโดยไม่ต้องขออนุญาตจัดการแข่งขันกีฬามวยตามมาตรา ๒๖
ห้ามมิให้ผู้รับใบอนุญาตจัดตั้งสนามมวย ดำเนินกิจการอื่นในสนามมวย เว้นแต่เป็นกิจการตามระเบียบที่คณะกรรมการกำหนด หรือได้รับอนุญาตจากนายทะเบียนเป็นการเฉพาะ
มาตรา ๒๙ นักมวยที่จะจดทะเบียนได้ต้อง
(๑) มีอายุไม่ต่ำกว่าสิบห้าปีบริบูรณ์
(๒) ไม่เป็นโรคพิษสุราเรื้อรัง หรือติดยาเสพติดให้โทษ หรือเป็นโรคที่คณะกรรมการกำหนด
(๓) ไม่เป็นคนวิกลจริต หรือจิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ
(๔) ไม่เป็นผู้มีความประพฤติเสียหาย ซึ่งคณะกรรมการเห็นว่าจะนำมาซึ่งความเสียหายแก่วงการกีฬามวย
ผู้เยาว์ที่จดทะเบียนเป็นนักมวยแล้ว อาจทำนิติกรรมอันเกี่ยวกับการเข้าแข่งขันกีฬามวยได้โดยไม่ต้องได้รับความยินยอมจากผู้แทนโดยชอบธรรมอีก
มาตรา ๓๐ นักมวยที่จดทะเบียนแล้วต้องสังกัดค่ายมวยใดค่ายมวยหนึ่งในการชกแต่ละครั้งแต่เพียง
ค่ายมวยเดียว และต้องปฏิบัติตามระเบียบของค่ายมวยที่ได้รับความเห็นชอบของคณะกรรมการโดยเคร่งครัด
ข้อตกลงจำกัดไม่ให้นักมวยย้ายสังกัดค่ายมวยเป็นโมฆะ เว้นแต่จะเป็นไปตามระเบียบที่คณะกรรมการกำหนด
มาตรา ๓๑ ผู้ฝึกสอน ผู้ตัดสิน และหัวหน้าค่ายมวยต้อง
(๑) ไม่เป็นโรคพิษสุราเรื้อรัง หรือติดยาเสพติดให้โทษ หรือเป็นโรคที่คณะกรรมการกำหนด
(๒) ไม่เป็นคนวิกลจริต หรือจิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ
(๓) ไม่เป็นผู้มีความประพฤติเสียหาย ซึ่งคณะกรรมการเห็นว่าจะนำมาซึ่งความเสื่อมเสียแก่วงการกีฬามวย – ๘ –
มาตรา ๓๒ ให้นักมวย ผู้ฝึกสอน ผู้ตัดสิน และหัวหน้าค่ายมวยมาจดทะเบียนต่อนายทะเบียนและขอมีบัตรประจำตัวนักมวย ผู้ฝึกสอน ผู้ตัดสิน หรือหัวหน้าค่ายมวย แล้วแต่กรณี ตามระเบียบที่คณะกรรมการกำหนด
ผู้ที่จดทะเบียนเป็นนักมวยด้านศิลปะมวยไทย นักมวยด้านมวยสากล ผู้ฝึกสอนผู้ตัดสิน และหัวหน้า
ค่ายมวย ต้องมีสัญชาติไทย และมีคุณสมบัติตามที่คณะกรรมการกำหนด
การจดทะเบียนผู้เยาว์เป็นนักมวย ต้องได้รับความยินยอมเป็นหนังสือจากผู้แทนโดยชอบธรรมก่อน
มาตรา ๓๓ ผู้ที่ได้จดทะเบียนเป็นนักมวยด้านศิลปะมวยไทยจะเข้าแข่งขันกีฬามวยด้านมวยสากลไม่ได้ เว้นแต่จะได้จดทะเบียนเป็นนักมวยสากลด้วย
มาตรา ๓๔ นักมวย ผู้ฝึกสอน ผู้ตัดสิน หรือหัวหน้าค่ายมวยที่จดทะเบียนไว้แล้วตามมาตรา ๓๒ หากภายหลังปรากฏว่าบุคคลดังกล่าวขาดคุณสมบัติข้อหนึ่งข้อใดตามที่กำหนดไว้ในมาตรา ๒๙ หรือมาตรา ๓๑ แล้วแต่กรณี ให้นายทะเบียนเพิกถอนทะเบียนดังกล่าว
มาตรา ๓๕ ห้ามมิให้ผู้ใดเป็นผู้จัดการนักมวย นายสนามมวย และผู้จัดรายการแข่งขันมวย เว้นแต่จะได้รับใบอนุญาตจากนายทะเบียน
การขอรับใบอนุญาต คุณสมบัติของผู้ขอรับใบอนุญาต การออกใบอนุญาตและแบบใบอนุญาตตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวง
มาตรา ๓๖ ให้นายทะเบียนมีหนังสือแจ้งการอนุญาตหรือไม่อนุญาตตามมาตรา ๒๖ มาตรา ๒๗ และมาตรา ๓๕ ให้ผู้ขอรับใบอนุญาตทราบภายในสามสิบวันนับแต่วันที่นายทะเบียนได้รับคำขอรับใบอนุญาต
ในกรณีที่นายทะเบียนไม่อนุญาต ให้แสดงเหตุผลที่ไม่อนุญาตไว้ในหนังสือ แจ้งให้ผู้ขอรับใบอนุญาตทราบด้วย
มาตรา ๓๗ ใบอนุญาตตามมาตรา ๒๗ ให้มีอายุห้าปีนับแต่วันที่ออกใบอนุญาตและใบอนุญาตตามมาตรา ๓๕ ให้มีอายุสามปีนับแต่วันที่ออกใบอนุญาต
ผู้รับใบอนุญาตตามมาตรา ๒๗ และมาตรา ๓๕ ซึ่งประสงค์จะขอต่ออายุใบอนุญาตให้ยื่นคำขอต่ออายุใบอนุญาตก่อนใบอนุญาตสิ้นอายุ และเมื่อได้ยื่นคำขอต่ออายุใบอนุญาตแล้วให้กระทำการในเรื่องที่ได้รับอนุญาตต่อไปได้จนกว่าจะได้รับแจ้งการไม่อนุญาตจากนายทะเบียน
การขอต่ออายุใบอนุญาตและการอนุญาต ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง
มาตรา ๓๘ ในกรณีที่นายทะเบียนมีคำสั่งไม่ออกใบอนุญาตหรือไม่ต่ออายุใบอนุญาต ผู้ขอรับใบอนุญาตหรือผู้ขอต่ออายุใบอนุญาตมีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งของนายทะเบียนต่อคณะ – ๙ –
กรรมการ โดยยื่นเป็นหนังสือต่อนายทะเบียนภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งการไม่ออกใบอนุญาตหรือการไม่ต่อ
อายุใบอนุญาตจากนายทะเบียน และให้นายทะเบียนเสนอหนังสืออุทธรณ์ต่อคณะกรรมการภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับหนังสืออุทธรณ์ดังกล่าว
คำวินิจฉัยของคณะกรรมการให้เป็นที่สุด
มาตรา ๓๙ ในกรณีที่ปรากฏต่อนายทะเบียนว่า ผู้ได้รับจดทะเบียนตามมาตรา ๓๒ หรือผู้รับใบอนุญาตตามมาตรา ๒๗ หรือมาตรา ๓๕
(๑) ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัตินี้ หรือกฎกระทรวงระเบียบ ข้อบังคับ หรือประกาศที่ออกตามพระราชบัญญัตินี้ หรือ
(๒) ไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของคณะกรรมการ คณะอนุกรรมการ นายทะเบียนหรือ พนักงานเจ้าหน้าที่ซึ่งสั่งการตามพระราชบัญญัตินี้
ให้นายทะเบียนมีอำนาจเพิกถอนทะเบียนเป็นการชั่วคราว หรือสั่งพักใช้ใบอนุญาตได้โดยมีกำหนดระยะเวลาตามที่เห็นสมควรแต่ไม่เกินครั้งละหกเดือน
ผู้ได้รับจดทะเบียนหรือผู้รับใบอนุญาตซึ่งถูกเพิกถอนทะเบียนเป็นการชั่วคราวหรือถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาต จะกระทำการใด ๆ ตามที่ได้รับจดทะเบียนหรือได้รับอนุญาตในระหว่างนั้นไม่ได้
มาตรา ๔๐ เมื่อความปรากฏต่อนายทะเบียนว่าผู้ได้รับจดทะเบียนตามมาตรา ๓๒ หรือผู้รับใบอนุญาตตามมาตรา ๒๗ หรือมาตรา ๓๕ ผู้ใดเคยถูกเพิกถอนทะเบียนเป็นการชั่วคราวหรือถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตตามมาตรา ๓๙ มาแล้ว และฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๓๙ (๑) หรือ (๒) อีกให้นายทะเบียนมีอำนาจเพิกถอนทะเบียนหรือสั่งเพิกถอนใบอนุญาต สำหรับผู้ได้รับใบอนุญาตนั้นให้นายทะเบียนมีอำนาจสั่งให้ส่งคืนใบอนุญาตภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้ทราบคำสั่งดังกล่าว
มาตรา ๔๑ ผู้ได้รับจดทะเบียนตามมาตรา ๓๒ หรือผู้รับใบอนุญาตตามมาตรา ๒๗ หรือมาตรา ๓๕ ซึ่งถูกเพิกถอนทะเบียนเป็นการชั่วคราว ถูกเพิกถอนทะเบียน ถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตหรือถูกสั่งเพิกถอนใบอนุญาต แล้วแต่กรณี มีสิทธิอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการได้ โดยยื่นเป็นหนังสือต่อนายทะเบียนภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้ทราบคำสั่งดังกล่าว และให้์นายทะเบียนเสนอหนังสืออุทธรณ์ต่อคณะกรรมการภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับหนังสืออุทธรณ์ดังกล่าว
คำวินิจฉัยของคณะกรรมการให้เป็นที่สุด
การอุทธรณ์การเพิกถอนทะเบียนเป็นการชั่วคราว การเพิกถอนทะเบียน คำสั่งพักใช้ใบอนุญาต
ตามวรรคหนึ่งไม่เป็นเหตุให้ทุเลาการบังคับดังกล่าวเว้นแต่จะมีการสั่งให้ทุเลาการบังคับ
มาตรา ๔๒ ห้ามมิให้ผู้รับใบอนุญาตซึ่งถูกเพิกถอนใบอนุญาตยื่นคำขอรับใบอนุญาตอีกจนกว่าจะ
พ้นกำหนดสามปีนับแต่วันที่ถูกเพิกถอนใบอนุญาต
มาตรา ๔๓ นายสนามมวยมีสิทธิโดยกฎหมายที่จะจัดให้นักมวยแข่งขันกีฬามวยได้ – ๑๐ –
มาตรา ๔๔ นายสนามมวยที่ได้รับใบอนุญาตตามมาตรา ๓๕ นอกจากจะต้องปฏิบัติ
ตามพระราชบัญญัตินี้แล้ว ให้มีหน้าที่ดังต่อไปนี้
(๑) ดำเนินการหรือจัดการแข่งขันกีฬามวยให้เป็นไปตามระเบียบ และกติกาการแข่งขันกีฬามวยซึ่งออกโดยคณะกรรมการตามมาตรา ๑๖
(๒) สอดส่องดูแลและรักษาความสงบเรียบร้อยในสนามมวยที่ได้รับอนุญาตนั้น
(๓) จัดทำทะเบียนประวัตินักมวย ผู้จัดรายการแข่งขันมวย ที่แข่งขันในสนามมวยนั้นส่งให้นายทะเบียนตามแบบที่คณะกรรมการกำหนด
(๔) จัดทำบัญชีการรับจ่ายเงินรางวัล ตลอดจนควบคุมการรับจ่ายเงินรางวัลของนักมวยที่แข่งขันในสนามมวยนั้นตามมาตรา ๑๕
(๕) สนับสนุน ส่งเสริม ช่วยเหลือบุคคลในวงการกีฬามวย
มาตรา ๔๕ ผู้ตัดสินมีหน้าที่ตัดสินการแข่งขันกีฬามวยตามระเบียบและกติกาซึ่งออกโดยคณะกรรมการตามมาตรา ๑๖
มาตรา ๔๖ หัวหน้าค่ายมวยต้องจัดการค่ายมวยให้มีมาตรฐาน และจัดให้มีสวัสดิการแก่นักมวย
ผู้ฝึกสอน และบุคคลอื่นที่เกี่ยวข้องในค่ายมวยที่ตนเองดูแลรับผิดชอบตามระเบียบที่คณะกรรมการกำหนด
มาตรา ๔๗ ผู้จัดรายการแข่งขันมวยและผู้จัดการนักมวยที่ได้รับใบอนุญาตตามมาตรา ๓๕ นอกจาก
จะต้องปฏิบัติตามพระราชบัญญัตินี้แล้ว ให้มีหน้าที่ดังต่อไปนี้
(1) ให้ความร่วมมือกับนายสนามมวยในการปฏิบัติให้เป็นไปตามระเบียบข้อบังคับ หรือประกาศที่คณะกรรมการกำหนด
(2) ปฏิบัติตามระเบียบของสนามมวยที่คณะกรรมการเห็นชอบ
มาตรา ๔๘ ห้ามมิให้ผู้ใดให้ ขอให้ หรือรับว่าจะให้ทรัพย์สิน หรือประโยชน์อื่นใดแก่นักมวยหรือผู้อื่นเพื่อจูงใจให้นักมวยกระทำการล้มมวย
มาตรา ๔๙ ห้ามมิให้ผู้ใดให้ ขอให้ หรือรับว่าจะให้ทรัพย์สิน หรือประโยชน์อื่นใดแก่ผู้ตัดสินหรือผู้อื่น เพื่อจูงใจให้ผู้ตัดสินไม่ตัดสินตามระเบียบและกติกาการแข่งขันอย่างถูกต้องเที่ยงธรรม
มาตรา ๕๐ ห้ามมิให้นักมวยรับหรือยอมจะรับทรัพย์สิน หรือประโยชน์อื่นใด สำหรับตนเองหรือผู้อื่นเพื่อจูงใจให้นักมวยกระทำการล้มมวย
มาตรา ๕๑ ห้ามมิให้ผู้ตัดสินรับหรือยอมจะรับทรัพย์สิน หรือประโยชน์อื่นใดสำหรับตนเองหรือผู้อื่น เพื่อจูงใจให้ผู้ตัดสินไม่ตัดสินตามระเบียบและกติกาการแข่งขันอย่างถูกต้องเที่ยงธรรม – ๑๑ –