ประวัติมวยไทย
- ประวัติมวยไทย
- สมัยสุโขทัย
- สมัยกรุงศรีอยุธยา
- สมัยกรุงธนบุรี
- สมัยกรุงรัตนโกสินทร์
- การจัดการแข่งขันมวยไทย
สมัยกรุงศรีอยุธยา
พ.ศ.1893 – 2310 สมัยนี้มีการถ่ายทอดวิชาการต่างๆมาจากสมัยสุโขทัยอย่างต่อเนื่อง เช่นการล่าสัตว์ การคล้องช้าง การฟ้อนรำและการละเล่นต่างๆและวัดก็ยังคงเป็นสถานที่ให้ความรู้ ทั้งวิชาสามัญ และฝึกความชำนาญในเชิงดาบ กระบี่กระบอง กริช มวยไทย ยิงธนู เป็นต้น
พ.ศ. 2174 – 2233 สมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช นับว่าเจริญที่สุดมีกีฬาหลายอย่าง ในสมัยนี้ เช่น การแข่งเรือ การชกมวย สมัยพระเจ้าเสือ หรือขุนหลวงสรศักดิ์ พระองค์ทรงชอบกีฬาชกมวยมากครั้งหนึ่งพระองค์ พร้อม ด้วยมหาดเล็ก 4 คน แต่งกายแบบชาวบ้านนอกไปเที่ยวงานมหรสพที่ตำบลราดรวด แล้วพระองค์ก็สมัครชกมวยในงานนั้น ในนามว่า นายเดื่อ โดยไม่เกี่ยงว่าคู่ต่อสู้จะเป็นใครพอทางสนามรู้ว่าพระองค์เป็นนักมวยมาจากอยุธยาจึงได้จัดนักมวยฝีมือดี จากเมืองวิเศษ ไชยชาญที่มีอยู่ ได้แก่ นายกลางหมัดมวย นายใหญ่หมัดเหล็ก นายเล็กหมัดหนักชกกับพระเจ้าเสือ และพระองค์ ก็ชกชนะทั้งสามคนรวด นายขนมต้ม หลังจากกรุงศรีอยุธยาแตก พ.ศ. 2310 คนไทยถูกกวาดต้อนไปเป็นเชลยมาก ครั้นต่อมา มีการจัดงานเฉลิมฉลองพระเจดีย์ซึ่งเป็นที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุที่กรุงร่างกุ้ง พระเจ้ามังระกษัตริย์พม่าได้สั่งให้จัดมวย หน้าพระที่นั่งขึ้น เพื่อชมนักมวยไทยชกกับนักมวยพม่าในครั้งนั้น สุกี้พระนายกองค่ายโพธิ์สามต้นที่ได้กวาดต้อนนักมวย ชาวไทย ไว้ที่กรุงอังวะหลายคน รวมทั้งนายขนมต้มที่ได้สร้างประวัติศาสตร์มวยไทยสืบ ต่อมาจนถึงปัจจุบันเมื่อพระเจ้ามังระ โปรดให้จัดนักมวยพม่าเปรียบกับนักมวยไทย คนไทยในพม่าก็ได้ส่งนายขนมต้มผู้มีรูปร่างล่ำสัน บึกบึน ผิวดำ เข้าไปจับคู่กับนักมวย พม่ากรรมการนำนักมวยไทยออกมากลางลานและประกาศชื่อนายขนมต้มว่าเป็นนักมวยมีชื่อจากกรุงศรีอยุธยา เชลยไทยที่มุงดู พากันโห่ร้องเพื่อเป็นกำลังใจ นายขนมต้มได้ใช้วิชาศิลปะมวยไทยเข้าต่อสู้สามารถเอาชนะนักมวยพม่าต่อเนื่องได้ถึง 10 คน (ตามสำนวนพงศาวดาร) จนไม่มีนักมวยพม่าคนใดกล้าต่อสู้อีก สร้างความประทับใจให้กับพระเจ้ามังระยิ่งนัก ถึงกับตรัสชมเชยว่า ” คนไทยถึงแม้จะไม่มีอาวุธในมือ มีเพียงมือเปล่า 2 ข้างก็ยังมีพิษรอบตัวหากมีเจ้านายดีที่ไหน จะเสียกรุงศรีอยุธยาแก่เราได้… “พระเจ้า มังระจึงทรงมอบเงินและภรรยาให้ 2 คนเป็นรางวัลกาลเวลาต่อมานายขนมต้มก็ได้นำเอาสองศรีภรรยาเข้ามาตั้งรกรากในไทย จนถึงบั้นปลาย ของชีวิตนายขนมต้มจึงเป็นนักมวยเอกคนแรกของไทยที่ได้ไปประกาศฝีไม้ลายมือมวยไทยในต่างแดนและยังเปรียบเสมือนกับเป็นบิดาวิชามวยไทยมาจนเท่าทุกวันนี้อนึ่ง ในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลายมวยไทยชกกันด้วยการคาดเชือกเรียกว่ามวยคาดเชือกซึ่งใช้เชือกหรือผ้าพันมือบากครั้งการชกอาจจะถึงตายเพราะเชือกที่ใช้คาดมือนั้นบางครั้งใช้น้ำมันชุบเศษแก้วละเอียด ชกถูกตรงไหนเป็นได้เลือดตรงนั้น นับว่าการชกมวยคาดเชือกนั้นมีอันตรายมากตั้งแต่สมัยอยุธยาลงมา ปรากฏว่ามีกรมนักมวยที่เรียก ทนายเลือก พวกนี้มีหน้าที่แวดล้อมองค์พระมหากษัตริย์คอยป้องกันอันตรายในระยะประชิดพระองค์ โดยไม่ใช้อาวุธอื่นใดนอกจากมือเปล่า กรมนี้มีอยู่ต่อมาจนถึงกรุงรัตนโกสินทร์ กษัตริย์บางองค์ทรงเป็นนักมวยมีฝีมือ เช่น สมเด็จพระนเรศวรมหาราช พระเจ้าเสือ พระเจ้ากรุงธนบุรี เป็นต้น